หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัย
ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) ประจำปี 2564 “พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (EDUCATION SANDBOX)”
Program 15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
กรอบการวิจัยและประเด็นโจทย์ที่ให้ความสำคัญ
โจทย์
|
เป้าหมาย
|
1) นวัตกรรมการเรียนรู้และ/หรือนวัตกรรมการบริหารจัดการการศึกษา เพื่อช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาของนักเรียนสูงขึ้น และพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้เรียน รวมถึงการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มอิสระในการบริหารจัดการของสถานศึกษาในพื้นที่
2) กระบวนการวิจัยเพื่อสร้างกลไกความร่วมมือในการจัดการศึกษาระดับจังหวัด และสร้างแผนพัฒนาการศึกษาระดับจังหวัดตอบโจทย์การจัดการศึกษาตามความต้องการและทุนเดิมของพื้นที่
|
1) โมเดลนวัตกรรมและการเรียนที่ทดลองในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ไม่น้อยกว่า 6 จังหวัด
2)สถานศึกษาไม่น้อยกว่า 10% ในจังหวัดมีผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาของนักเรียนสูงขึ้น
3)เยาวชนนอกระบบการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 10,000 คน มีช่องทางการเรียนรู้และยกระดับทักษะเพื่อพัฒนา
|
กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่
พื้นที่ระดับจังหวัดที่อยู่ในประกาศของกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ได้แก่ ระยอง ศรีสะเกษ เชียงใหม่ กาญจนบุรี สตูล และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือพื้นที่จังหวัดอื่น โดยมีหลักเกณฑ์ของพื้นที่เป้าหมาย ดังนี้
1) มีมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิชาการที่มีบทบาทสำคัญอยู่ในพื้นที่
2) มีทุนการทำงานด้านการศึกษาร่วมกันกับกลไกความร่วมมือในการจัดการศึกษาระดับพื้นที่
กระบวนการทำงานกับโรงเรียนในพื้นที่เป้าหมายต้องไม่น้อยกว่า 5% เมื่อเทียบกับจำนวนโรงเรียนทั้งหมดในจังหวัด และเสนอแนวทางขยายผลการวิจัยให้ครอบคลุมจำนวนโรงเรียนไม่น้อยกว่า 10% ของจำนวนโรงเรียนทั้งหมดในจังหวัดตามเป้าหมายของแผนงานเพื่อที่จะสร้างผลกระทบและขยายผลต่อไปได้
คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้เสนอขอรับทุน
1. ผู้มีสิทธิ์เสนอขอรับทุนคือสถาบัน/หน่วยงาน/นักวิจัย/นักวิชาการอิสระ ที่มีสถานที่ตั้ง/พื้นที่บริการ/ที่พำนัก อยู่ในพื้นที่เป้าหมายดำเนินงานวิจัย หากเป็นสถาบัน/หน่วยงานภายนอกพื้นที่เป้าหมายต้องมีการมีส่วนร่วมและมีความร่วมมือกับสถาบัน/หน่วยงานวิชาการในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้น
2. กรณีผู้ยื่นขอรับการสนับสนุนเป็นภาคเอกชนและภาคประชาสังคม จะต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อให้นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. 2563
ช่วงเวลารับข้อเสนอ 22 ธันวาคม 2563 - 26 มกราคม 2564 เวลา 17.00 น. (หน่วยงานต้นสังกัดรับรองภายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 17.00 น. )
ช่องทางการยื่นข้อเสนอฯ ผ่านระบบ NRIIS (http://nriis.nrct.go.th/)
ข้อมูลเพิ่มเติม เว็บไซต์หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ที่
https://www.nxpo.or.th/A และผ่านทาง Facebook ที่
https://www.facebook.com/PMUA.THAI
ทั้งนี้ หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดกิจกรรมชี้แจงเป้าหมายของแผนงานและตอบข้อซักถามแก่ผู้สนใจ ในวันที่ 25 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 – 12.00 น. ผ่านระบบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ZOOM ท่านสามารถลงทะเบียนและส่งข้อซักถามล่วงหน้าได้ทาง Facebook ที่ https://www.facebook.com/PMUA.THAI
หมายเหตุ
– สถาบันต้นสังกัดของหัวหน้าโครงการทำการรับรองข้อเสนอแผนงาน/โครงการวิจัย ผ่านระบบ NRIIS ภายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 17.00 น. และทาง บพท. จะพิจารณาข้อเสนอโครงการที่ผ่านการรับรองจากมหาวิทยาลัยภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น)
- หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ขอสงวนสิทธิ์ในการรับพิจารณาเฉพาะเอกสารต้นฉบับที่มีรายละเอียดครบถ้วนตามเงื่อนไข และสถาบันต้นสังกัดหัวหน้าโครงการทำการรับรองข้อเสนอโครงการวิจัยในเวลาที่กำหนดและหากพ้นกำหนดจะถือว่าเป็นโมฆะ
โจทย์
|
เป้าหมาย
|
1) นวัตกรรมการเรียนรู้และ/หรือนวัตกรรมการบริหารจัดการการศึกษา เพื่อช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาของนักเรียนสูงขึ้น และพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้เรียน รวมถึงการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มอิสระในการบริหารจัดการของสถานศึกษาในพื้นที่
2) กระบวนการวิจัยเพื่อสร้างกลไกความร่วมมือในการจัดการศึกษาระดับจังหวัด และสร้างแผนพัฒนาการศึกษาระดับจังหวัดตอบโจทย์การจัดการศึกษาตามความต้องการและทุนเดิมของพื้นที่
|
1) โมเดลนวัตกรรมและการเรียนที่ทดลองในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ไม่น้อยกว่า 6 จังหวัด
2)สถานศึกษาไม่น้อยกว่า 10% ในจังหวัดมีผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาของนักเรียนสูงขึ้น
3)เยาวชนนอกระบบการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 10,000 คน มีช่องทางการเรียนรู้และยกระดับทักษะเพื่อพัฒนา
|