เนื้อความ :
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้เล็งเห็นประโยชน์ของการใช้รหัส DOI เพื่อตรวจสอบความซ้ำซ้อนของโครงการวิจัย โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกแบบเต็ม (Full member) กับองค์กรรับจดทะเบียน (RA) คือ DataCite ณ ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2555 ในการประชุม 4thDataCite General Assembly ณ Leibniz-Institute for the Social Science (GESIS) เมืองโคโลญจน์ ประเทศเยอรมนี ซึ่ง วช. ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อนำเสนอภารกิจของ วช. ในฐานะศูนย์สารสนเทศด้านการวิจัยของประเทศ ที่เป็นองค์กรในการกำหนด รหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล (DOI) ของงานวิจัยในประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยโดย วช. สามารถให้บริการ รหัส DOI ตามมาตรฐานสากลสำหรับงานวิจัยและงานวิชาการแก่หน่วยงานวิจัยในประเทศไทยได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยเป็นองค์กรหลักในการกำหนดรหัส DOI ของงานวิจัยในประเทศไทยรหัสประจำของทรัพยากร
สารสนเทศดิจิทัล หรือ DOI มีประโยชน์ต่อนักวิจัย ได้แก่
- ช่วยส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาที่มีค่าให้กับทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล
- ช่วยให้ความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล การค้นหา การสร้างระบบเชื่อมโยงไฟล์ดิจิทัล
- ช่วยให้ความสะดวกในการรวบรวมเอกสารดิจิทัลเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและการวิจัย
- ช่วยให้ไม่เสียเวลาในการเปลี่ยนที่อยู่ของเว็บไซต์ หรือ URL สถานที่จัดเก็บ เมื่อมีการย้ายไฟล์ไปไว้ที่อื่น
- ช่วยในการจัดเก็บและเผยแพร่ไฟล์ดิจิทัลในระยะยาว
- ช่วยปกป้องลิขสิทธิ์และป้องกันการโจรกรรมข้อมูลให้กับเจ้าของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล
- ช่วยให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเขียนรายการบรรณานุกรมและการอ้างถึงเอกสารดิจิทัลตามหลักสากล
- ช่วยให้ทราบจำนวนเอกสารดิจิทัลในแต่ละสาขาและการเชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละชื่อเรื่องที่คล้ายคลึงกัน
หลักเกณฑ์ในการขอรับรหัส DOI ผ่านระบบ NRMS
- ชื่อโครงการในระบบจะต้องตรงกับชื่อเรื่องที่ปรากฎในเล่มไฟล์รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
- ชื่อผู้แต่งในระบบจะต้องตรงกับชื่อผู้แต่งที่ปรากฎอยู่ในเล่มไฟล์รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
- ชื่อหน่วยงานที่ตีพิมพ์ในระบบจะต้องตรงกับชื่อหน่วยงานที่ตีพิมพ์ที่ปรากฎอยู่ในเล่มไฟล์รายงานฉบับสมบูรณ์
- ปีที่ตีพิมพ์ในระบบจะต้องตรงกับปีที่เผยแพร่ที่ปรากฎอยู่ในเล่มไฟล์รายงานฉบับสมบูรณ์
- โครงการในระบบจะต้องมีคำสำคัญ (Keyword) ของโครงการ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่: กองมาตรฐานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โทร : 02-561-2445 ต่อ 619, 607
|